Health

  • วัณโรคคืออะไร เป็นแล้วมีอาการอย่างไร
    วัณโรคคืออะไร เป็นแล้วมีอาการอย่างไร

    วัณโรค คือโรคติดต่อที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียรุนแรง ซึ่งสามารถติดต่อกันผ่านทางอากาศได้ด้วยการหายใจ การจาม การไอ หรือการอยู่ร่วมกับผู้ป่วยวัณโรคติดต่อกันเป็นเวลานาน ๆ

    วัณโรคถือเป็น 1 ใน 10 สาเหตุการเสียชีวิตของคนทั่วโลก โดยองค์กรอนามัยโลกได้เปิดเผยสถิติล่าสุดในปี ค.ศ. 2015 (พ.ศ. 2558) ว่ามีผู้ที่ป่วยทั่วโลกทั้งหมด 10.4 ล้านคน และมีถึง 1.8 ล้านคนที่เสียชีวิตจากวัณโรค
    วัณโรค

    ทั้งนี้วัณโรคเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทยแต่ไม่ติด 10 อันดับสาเหตุการชีวิตของคนไทย แต่ถึงอย่างนั้น องค์การอนามัยโลกก็ยังจัดให้ประเทศไทยเป็น 1 ใน 22 ประเทศที่ปัญหาวัณโรคสูงมากตั้งแต่ปี พ.ศ. 2521 ซึ่งจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ในกลุ่ม 22 ประเทศเหล่านี้คิดเป็นกว่า 80% ของผู้ป่วยทั่วโลก

    ขณะที่วัณโรคนั้นก็ถือเป็นโรคที่มักเกิดขึ้นในผู้ป่วยติดเชื้อเอชไอวี (HIV) เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่บกพร่องจะทำให้เชื้อวัณโรคสามารถติดและแสดงอาการได้ง่าย

    อาการวัณโรคจะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแฝง (Latent TB) และระยะแสดงอาการ (Active TB) โดยเมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้ว เชื้อจะพัฒนาไปอย่างช้า ๆ อาจต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ไปจนถึงหลายปี

    ระยะแฝง (Latent TB) ในระยะแฝง เมื่อผู้ป่วยได้รับเชื้อแล้วจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น เนื่องจากเชื้อไม่ได้รับการกระตุ้น ทว่าเชื้อแบคทีเรียก็ยังคงอยู่ในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดอาการจนเข้าสู่ระยะแสดงอาการได้ ทั้งนี้หากผู้ป่วยมีการตรวจพบเจอเชื้อในช่วงระยะแฝง แพทย์อาจให้เข้ารับการรักษาและควบคุมการแพร่กระจายของเชื้อ รวมถึงลดความเสี่ยงที่อาการจะเข้าสู่ระยะแสดงอาการ

    ระยะแสดงอาการ (Active TB) เป็นระยะที่เชื้อได้รับการกระตุ้นจนเกิดอาการต่าง ๆ โดยอาการในระยะนี้จะปรากฎให้เห็นได้ชัดเจน เช่น มีอาการไอเรื้อรัง ไอเป็นเลือด เจ็บหน้าอก หรือรู้สึกเจ็บเวลาหายใจหรือไอ อ่อนเพลีย มีไข้ หนาวสั่น มีอาการเหงื่อออกในเวลากลางคืน น้ำหนักลด และความอยากอาหารลดลง
    ทั้งนี้โดยส่วนใหญ่แล้ววัณโรคจะแสดงอาการที่ปอด ซึ่งเรียกว่า วัณโรคปอด แต่เชื้อก็สามารถกระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ในร่างกายและทำให้เกิดอาการผิดปกติที่เป็นอันตรายได้ เช่น วัณโรคกระดูก วัณโรคเยื่อหุ้มสมอง

    สาเหตุของวัณโรคเกิดจากการติดเชื้อไมโครแบคทีเรียมทูเบอร์คูโลซิส (Mycobacterium Tuberculosis) ที่สามารถแพร่กระจายได้ทางอากาศโดยผ่านทางการไอ จาม การพูด และการหายใจ โดยความเสี่ยงของวัณโรคจะเพิ่มขึ้นหากเป็นผู้ที่เคยพักอาศัย หรือเดินทางมาจากพื้นที่ที่มีผู้ป่วยวัณโรคจำนวนมาก

    การวินิจฉัยวัณโรคเบื้องตนด้วยตนเองสามารถทำได้หากอยู่ในระยะแสดงอาการ แต่ถ้าเป็นระยะแฝงจะไม่มีอาการใด ๆ แสดงให้เห็น จึงต้องอาศัยวิธีการวินิจฉัยโดยแพทย์ โดยในเบื้องต้นแพทย์จะใช้วิธีการตรวจทางผิวหนังเพื่อดูระดับภูมิคุ้มกัน และหากมีความผิดปกติ แพทย์จะสั่งตรวจอื่น ๆ เพิ่มเติม วิธีที่แพทย์นิยมใช้ในการตรวจวัณโรคได้แก่ การตรวจเลือด และการเอกซเรย์ การส่องกล้อง การตรวจชิ้นเนื้อ การตรวจน้ำไขสันหลัง

    และหากแพทย์สงสัยว่าผู้ป่วยจะมีอาการของวัณโรค แพทย์จะสั่งเก็บเสมหะของผู้ป่วยเพื่อยืนยันโรค และใช้ตัวอย่างเสมหะเพื่อทดสอบหายาที่สามารถรักษาผู้ป่วยได้

    การรักษาวัณโรคทำได้ด้วยการรับประทานยาต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอควบคู่กับการดูแลสุขภาพ โดยยาที่แพทย์นิยมใช้ในการรักษา ได้แก่ ไอโซไนอาซิด (Isoniazid) ไรแฟมพิซิน (Rifampicin) อีแทมบูทอล (Ethambutol) ไพราซินาไมด์ (Pyrazinamide) แต่ถ้าหากผู้ป่วยมีอาการดื้อยา ก็อาจจะต้องใช้ยาตัวอื่น ๆ ร่วมด้วยเพื่อให้การรักษาเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) และยาลีโวฟลอกซาซิน (Levofloxacin) เป็นต้น

    ยาที่ใช้ในการรักษาวัณโรคนั้นเป็นยาที่มีผลข้างเคียงรุนแรง และอาจเป็นพิษต่อตับ ดังนั้นในการรักษา แพทย์และผู้ป่วยจึงต้องร่วมมือกันสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ซึ่งถ้าหากผู้ป่วยมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียน ความอยากอาหารลดลง หายใจลำบาก มีอาการไข้ติดต่อกันหลายวันอย่างไม่มีสาเหตุ มีอาการบวมที่บริเวณใบหน้าและลำคอ มีปัญหาในการมองเห็น ผิวซีดเหลือง หรือมีปัสสาวะสีเข้มขึ้นผิดปกติ ผู้ป่วยควรรีบไปพบแพทย์โดยทันที

    ภาวะแทรกซ้อนของวัณโรคมักเกิดขึ้นจากการรักษาที่ล่าช้า หรือการรักษาที่ไม่ต่อเนื่อง โดยอาการของภาวะแทรกซ้อนอาจไม่รุนแรง หรือรุนแรงจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ ภาวะแทรกซ้อนที่มักพบได้ในผู้ป่วยวัณโรค ได้แก่ ไอเป็นเลือด ฝีในปอด ภาวะน้ำในช่องหุ้มปอด อาการปวดบริเวณหลัง ข้อต่อกระดูกอักเสบ หรืออาจรุนแรงถึงขั้นเยื่อหุ้มสมองอักเสบ

    การป้องกันวันโรคทำได้ด้วยการดูแลสุขภาพให้แข็งแรง และระมัดระวังในการอยู่ใกล้กับผู้ป่วยวัณโรคเป็นเวลานาน ๆ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็ควรสวมหน้ากากอนามัย ไม่เพียงเท่านั้น การได้รับวัคซีนบีซีจี (BCG) ก็สามารถช่วยป้องกันวัณโรค ซึ่งวัคซีนดังกล่าวเป็นวัคซีนพื้นฐานที่ต้องฉีดให้เด็กแรกเกิด

    ติดตามเรื่องราวดีๆได้ที่ srfoils.net

Economy

  • คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม”
    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม”

    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย “อาคม” สั่งทุกแบงก์เร่งเดินหน้าต่อ

    นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คลัง เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงการคลังได้ร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สถาบันการเงินของรัฐ สมาคมธนาคาร และหน่วยงานพันธมิตรต่างๆ ได้จัดงาน “มหกรรมร่วมใจแก้หนี้ มีหนี้ต้องแก้ไข เริ่มต้นใหม่อย่างยั่งยืน”

    ผลปรากฏว่า มีผู้มาลงทะเบียนแก้ไขหนี้รวม 447,000 รายการ โดยเป็นการลงทะเบียนในงานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ฯสัญจรจำนวน 5 ครั้ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ขอนแก่น เชียงใหม่ ชลบุรี และสงขลา มีประชาชนมาขอรับบริการ 34,000 รายการ รวมมูลหนี้ 24,000 ล้านบาท โดยสามารถแก้ไขหนี้ได้สำเร็จคิดเป็นมูลหนี้ 9,600 ล้านบาท

    ขณะที่การขอแก้หนี้อีก 413,000 รายการ เป็นการลงทะเบียนผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งในขณะนี้ยังไม่สามารถประเมินมูลค่าหนี้ได้ เนื่องจากประชาชนไม่ได้กรอกมูลค่าหนี้ของตัวเอง อย่างไร ก็ตาม เบื้องต้นสามารถเจรจาแก้ไขหนี้ได้สำเร็จ 50,000 รายการ คิดเป็นวงเงิน 12,000 ล้านบาท แต่ขณะนี้มีกว่า 100,000 รายการที่ลงทะเบียนไว้แต่ติดต่อไม่ได้ ส่วนอีก 100,000 รายการ ไม่เป็นไปตามเงื่อนไขที่กำหนด และอีก 150,000 รายการยังอยู่ระหว่างดำเนินติดการตามการแก้ไข ดังนั้นจึงต้องเร่งเดินหน้าต่อเพื่อดำเนินการปรับโครงสร้างหนี้ต่อไป

    คนแห่ลงทะเบียนทะลัก 4.47 แสนราย "อาคม" สั่งทุกแบงก์เร่งเดินหน้าต่อ

    “แม้งานมหกรรมร่วมใจแก้หนี้ฯจะสิ้นสุดลงแล้ว แต่ได้มอบนโยบายให้สถาบันการเงินของรัฐทุกแห่งดูแลลูกหนี้ของตัวเอง ด้วยการไปเคาะประตูบ้าน เพื่อให้มาเจรจาปรับโครงสร้างหนี้ รวมถึงการเปิดสาขารับแก้ไขหนี้ด้วย ซึ่งรูปแบบการแก้หนี้ในช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นนั้น ได้กำชับให้ธนาคารรัฐช่วยลดภาระการจ่ายชำระหนี้ของลูกหนี้ด้วย ทั้งขยายงวดการผ่อนชำระ ลดวงเงินชำระตามความสามารถของตัวเอง โดยเรื่องนี้ให้ถือเป็นดัชนีชี้วัดการทำงานของสถาบันการเงินของรัฐด้วย เพราะปีนี้รัฐบาลได้ตั้งเป้าหมายให้เป็นปีแห่งการแก้หนี้สินภาคครัวเรือนเป็นวาระแห่งชาติ ตามนโยบายของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี”

    สำหรับหนี้สินที่มีประชาชนมาลงทะเบียนจำนวนมาก คือ หนี้บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อบุคคล รองลงมา คือ สินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ สินเชื่อรายย่อย และสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย เป็นต้น.

    ขอบคุณแหล่งที่มา : thairath.co.th

    สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : srfoils.net